ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมา
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516 ขณะที่มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ภายหลังได้ทำการเปลี่ยนชื่อให้ครอบคลุมภารกิจ เป็นชื่อ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ตั้งอยู่ชั้นที่ 1 อาคารกาญจนาภิเษกอนุสรณ์ เป็นหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานทางด้านวิชาการ ด้วยการกำกับมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุดมศึกษาและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
วิสัยทัศน์
ส่งเสริมระบบการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน มุ่งพัฒนาระบบบริการการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
พันธกิจ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเกณฑ์อุดมศึกษาและเสริมสร้างระบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- สนับสนุนการดำเนินงาน การบริหารและการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและสหกิจศึกษา
- ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและหลากหลายวิธี
- กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานบริหารหลักสูตรให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
- พัฒนาระบบบริการการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบการบริหารงานภายใต้ระบบธรรมาภิบาล
เป้าหมาย
- สร้างโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
- จัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
- บัณฑิตมีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
- ระบบบริการการศึกษามีประสิทธิภาพ
- บุคลากรของสำนัก ได้รับการพัฒนาและมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพและส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
- มีการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้การจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานตามเกณฑ์อุดมศึกษากำหนด
- เพื่อให้บุคลกรมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานและมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
- เพื่อให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานและการบริการการศึกษาที่ทันสมัย ถูกต้องและรวดเร็ว
- เพื่อให้การบริหารจัดการของหน่วยงานมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
อัตลักษณ์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
ซื่อสัตย์ รอบรู้ สู้งาน บริการด้วยใจ
นิยาม
- ซื่อสัตย์ คือ บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดถือจรรยาบรรณของอาชีพและปฏิบัติตนโดยยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน
- รอบรู้ คือ มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ และมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคมและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง เพื่อการนำมาปฏิบัติงานและการให้คำปรึกษาต่อหน่วยงานอื่น ๆ
- สู้งาน คือ มีความขยัน อดทน มุ่งมานะไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติงานแม้จะมีความยุ่งยากในการดำเนินงาน ปริมาณของงานมากและมีเวลาจำกัด รวมถึงการการปฏิบัติงานเป็นทีมเพื่อมุ่งความสำเร็จ
- บริการด้วยใจคือ การให้บริการแก่ผู้รับบริการ เช่น นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคคลภายนอกต่างๆ ด้วยการนำความรู้ ความสามารถมาอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ให้ข้อมูลหรือให้คำปรึกษาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องอย่างเต็มความสามารถและเป็นที่ประทับใจของผู้รับบริการ
นโยบายการบริหารงานและแนวทางในการดำเนินงานของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
นโยบายการบริหารงาน
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ดังนี้
- จัดระบบการบริหารงานและบริการการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย ตามภารกิจของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- ให้บุคลากรปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงคุณภาพการให้บริการที่ได้มาตรฐานเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
- มีการตรวจสอบและประเมินผลในการดำเนินงานต่างๆ ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- พัฒนาระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพภายใน จัดทำเอกสารระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่กำหนดไว้ใน ระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อใช้กำกับและตรวจสอบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบนโยบายและหลักการของมหาวิทยาลัย
- เน้นการปฏิบัติงานที่ยึดหลักธรรมมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้
นโยบายการบริหารงานทรัพยากรบุคคล
เพื่อให้การดำเนินงานของบุคลการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน ดังนี้
- เน้นความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรมและจริยธรรม ต่อต้านการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนในการทำงาน
- จัดสรรคนให้เหมาะกับงานที่ได้รับมอบหมาย โดยคำนึงถึงภาระงานที่เหมาะสม ความก้าวหน้าในสายงาน และประสิทธิผลจากการปฏิบัติงาน
- นโยบายด้านบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ผลของการปฏิบัติงานเป็นส่วนสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี และการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อตัวชี้วัดผลแผนปฏิบัติการของกลุ่มงาน รวมถึงประเมินผลขีดความสามารถและสมรรถนะต่าง ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานมาใช้ในสำนัก เพื่อสามารถตรวจสอบการบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและผู้บริหารเพื่อนำไปสู่การบรรลุพันธกิจของสำนักอย่างมีประสิทธิภาพแลประสิทธิผลต่อไป
- นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการจัดเก็บข้อมูลของบุคลากร
- การส่งเสริมให้บุคลากรให้เป็นผู้มีความสามารถ มีความคล่องตัวในการทำงาน โดยการพัฒนาตนเองตามสายงานโดยในแต่ละปีบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของบุคลากรทั้งหมดต้องได้รับการอบรม/สัมมนา/ประชุมเชิงปฏิบัติงาน
- ในทุกปีสำนักดำเนินการส่งเสริมศักยภาพอื่นๆ ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรทุกคนของสำนัก